คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ Welcome To Blogger (E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood)

Monday, October 7, 2013

Scientific research related to early childhood

สรุปวิจัย เรื่อง Developing of basic science process skills of young children using creative art model for learning
การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (ณัฐชุดา สาครเจริญ)

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
            - เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
            -เพื่อจัดให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
ความสำคัญของการวิจัย
            การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครู ในการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยการนำกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย โดยเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา ตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านต่างๆ ได้



ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
- เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 6 ดังนี้
            1. การสังเกต
            2. การจำแนก
            3. การวัด
            4. การมิติสัมพันธ์
            5. การสื่อสาร
            6. การลงความเห็น

เนื้อหา
            ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกถ่ายทอดออกมาโดยผ่านสื่อผลงานซึ่งเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เด็กเห็น และรับรู้โดยการใช้จินตนาการ การสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ จนเกิดความเข้าใจในธรรมชาติ เด็กยังมีโอกาสพัฒนาความคิด ได้รับความรู้เพิ่มพูนได้แสดงออกอย่างอิสระ มีสุนทรียภาพและเห็นคุณค่าความงามของศิลปะ
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
            -ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้คิดสื่อที่ใช้ประกอบคำถาม เช่น นิทาน ภาพ เกม เพื่อจูงใจสร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยให้เด็กตอบคำถามอย่างอิสระ คำถามที่ครูใช้ถามประกอบสื่อจะเป็นคำถามปลายเปิดที่ใช้คำถามว่า อย่างไร ทำไมเพราะเหตุใด
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยเครื่องนอน คำถามที่ใช้คือ เครื่องนอนเด็กๆ เห็นมีอะไรบ้าง นอกจากนี้เครื่องนอนที่เห็นที่บ้านของนักเรียนมีเครื่องนอนอะไรบ้าง
            -ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นกิจกรรมที่ครูกระตุ้นให้เด็กสะท้อนคิดด้วยการโยงข้อความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ครูต้องใช้คำถามกระตุ้นโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะที่ทำกับการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดมโนทัศน์ คือ วิธีสอนที่ใช้เกม
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยหมู่อาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมู พิชซ่า ข้าวไข่เจียว มาให้เด็กจำแนกตักใส่ภาชนะไปวางบนแผ่นชาร์ต จำแนกหมู่อาหาร
            -นำสู่งานศิลปะ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้นำมโนทัศน์หรือความรู้ที่ได้ถ่ายโยงความรู้สู่งานศิลปะตามรูปแบบงานศิลปะที่ครูเลือกว่าเหมาะสมกับสิ่งที่คุณเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรงและได้แสดงออกถึงความคิดจินตนาการที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
           ตัวอย่างเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยไข่เด็กศิลปะเปลี่ยนแบบ โดยการนำเปลือกไข่ที่เรียน หรือสิ่งที่เรียนมาทำงานประดิษฐ์เปลี่ยนแบบ
           
            -สาระที่เรียนรู้ เด็กจะสรุปมโนทัศน์ที่ได้จากการดำเนินการทั้ง 3 ขั้น ที่ผ่านมา โดยครูกับเด็กสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เด็กได้เล่าอธิบายจากชิ้นงานศิลปะ เช่น ภาพวาด งานประดิษฐ์ งานปั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจมโนทัศน์ในสิ่งที่เรียน
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยหมู่อาหาร ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามจากงานศิลปะ เช่น ศิลปะที่เด็กวาดอยู่ใช้อาหารหมู่ใดบ้าง ศิลปะใครมีอาหารครบ 5 หมู่

สมมุติฐานการวิจัย
            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปแบบการใช้ศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

ผลการวิจัย
            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




Wednesday, October 2, 2013

สรุปองค์ความรู้จาก Thai Teachers Tv


เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติ ที่เรียกว่า "มาทาลโปรแกรม" การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 การลงมือปฏิบัติ เข้าใจสิ่งรอบตัวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การจำแนกวัสดุต่างๆ

จัดกิจกรรม หน่วยการเรียนรู้: ชุมชนของเรา

ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวภายในชุมชนมีอะไรบ้าง จากนั้นให้เด็กนำบ้านที่สร้างมา นำมาจัดเป็นชุมชนร่วมกัน โดยมีอุปกรณ์ที่หลากหลายไว้ให้ เช่น ไม้บล็อค ไม้ตะเกียบ มีรูปทรง และสอดแทรกเรื่องธรรมชาติโดยให้ใช้กล่องนม ทำเป็นต้นไม้ โดยครูยกตัวอย่างให้เด็กฟัง

ในการทำกิจกรรมเด็กได้จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆได้ เช่นโลหะ กระดาษ ไม้ พลาสติก
ให้เด็กสร้างเส้นทางจากบ้านตัวเองไปหาเพื่อน เป็นการให้เด็กมีสังคม การมีสัมพันธ์ที่ดี และการทำงานร่วมกันระหว่างเพื่อน และรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้ประโยชน์ของธรรมชาติ และให้เด็กนำเสนอโดยครูใช้คำถามว่าบ้านของเด็กๆมีอะไรบ้าง

 กิจกรรมแยกแยะสิ่งของจับคู่ความสัมพันธ์ โดยครูหยิบสิ่งของขึ้นมาและให้เด็กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งของนั้นๆ และให้หาสิ่งของที่คู่กัน เป็นการฝึกการสังเกตสิ่งของที่อยู่รอบตัว ที่อยู่ในห้องเรียน