คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ Welcome To Blogger (E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood)

Monday, September 30, 2013

Study notes No.16

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งของเล่นเข้ามุมและของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ โดยอาจารย์ให้จัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อจัดเป็นนิทรรศการสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-อาจารย์ได้สรุปถึงองค์ความรู้ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ภาพบรรยากาศการเก็บรวบรวมสื่อและสรุปองค์ความรู้ทั้งหมด









Monday, September 23, 2013

Study notes No.15

-สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณได้ให้กลุ่มนักศึกษาที่ถูกเลือกในสัปดาห์ที่แล้ว ออกมาสาธิตการสอนทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ โดยให้กลุ่มที่สอนสมมติเป็นครูและเพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก

ขั้นตอนกระบวนการสอนและการสาธิต

1."เด็กๆเห็นอะไรบ้างเอ๋ยที่คุณครูเตรียมมาวันนี้" พร้อมยกของประกอบขึ้นด้วยเวลาที่เด็กตอบ
2.กล่าวชมเชยเด็ก จากนั้นถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคิดว่าของเหล่านี้สามารถนำเอามาทำเป็นอะไรได้บ้างค่ะ"
3. เมื่อเด็กตอบ ก็บอกว่า "วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆมาทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับกัน ไหนใครเคยลองช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับบ้างเอ๋ย" เมื่อเด็กตอบก็กล่าวชมเชยเด็กอีกครั้ง
4."งั้นเรามาเริ่มทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำซุปใส่หม้อก่อนนะคะ ไหนมีใครอยากออกมาช่วยคุณครูบ้างยกมือขึ้น แล้วออกมาได้เลย" ขณะที่เด็กเข้ามาหาพยายามบอกให้เด็กอยู่ห่างหม้อมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
5.ในระหว่างที่รอน้ำเดือดคุณครูก็เตรียมเต้าหู้ ต้นหอมผักชี มาหั่นรอ ช่วงที่ทำถามเด็กๆไปด้วยว่าคืออะไร แล้วบอกเด็กว่าเวลาที่จะหั่นของควรให้คุณพ่อคุณแม่หั่นเพราะอาจโดนมีดบาดได้
6.เมื่อน้ำเดือดให้ใส่หมูสับลงไป โดยอาจให้เด็กช่วยปั้นหมูสับแล้วคุณครูเป็นคนใส่ลงไปในหม้อให้ ระหว่างที่เอาหมูสับใส่ลงในหม้อ บอกเด็กสังเกตดูว่า "ตอนนี้เด็กๆเห็นหมูสับเป็นสีอะไรคะ" เมื่อเด็กตอบให้กล่าวชมเชยอีกครั้ง
 7.ในระหว่างที่รอให้หมูสับสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลงประกอบการทำอาหารไปด้วยเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อหมูสับสุกก็ถามถึงการเปลี่ยนแปลงของหมูสับว่า "เด็กๆคิดว่าหมูสับเปลี่ยนไปมั้ยคะ"
8.จากนั้นให้ใส่ผักที่เตรียมไว้ ถามเด็กว่า "เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ" เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผักเหมือนถามตอนที่ใส่หมูสับลงไป
9.ต่อจากนั้นปรุงรสชาติ ถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคนไหนอยากปรุงรสชาติแกงจืดช่วยคุณครูบ้างคะ"
10.เสร็จแล้วให้ตักใส่ถ้วยให้เด็กได้ทดลองชิมแกงจืดที่ทำ พร้อมให้เด็กบอกว่ารสชาติเป็นอย่างไรและสรุปด้วยว่าแกงจืดนั้นให้ประโยชน์อะไรแก่เด็กบ้าง



ภาพของแกงจืดเต้าหู้หมูสับ




อุปกรณ์และส่วนผสมสำหรับการทำแกงจืด






ภาพกิจกรรมการสอนของเพื่อน







Monday, September 16, 2013

Study notes No.14

-วันนี้อาจารย์ตฤณ สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking) และอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อช่วยกันเขียนแผน


แผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking)





ภาพการทำงานในกลุ่ม




ภาพการนำเสนอแผนของแต่ละกลุ่ม




Sunday, September 15, 2013

เรียนชดเชย ครั้งที่3

-อาจารย์บอกรายละเอียดและองค์ประกอบที่ต้องทำลงไปในบล็อกและอาจารย์ให้เขียนชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิน ลงในบล็อกด้วย

-อาจารย์อธิบายเครื่องมือในวิทยาศาสตร์ มีดังนี้





-อาจารย์พูดถึงการจัดนิทรรศการสื่อทางวิทยาศาสตร์

-เพื่อนนำเสนองานของเล่นเข้ามุม (ต่อ)





เก็บตกงานที่ยังไม่นำเสนอ




                                                       1. กาลักน้ำ 
                                                       2. ดอกไม้บา
                                                       3. ตะเกียบยกขวด




                                                          
                              1.ปลาร้องเพลง                         2.กระป๋องร้องเพลง
                              3.ขวดลูกเด้ง                             4.กบไต่เชือก
                              5.กระป๋องบูมเมอแรง              6.ภาพเปลี่ยนแปลง
                              7.ตุ๊กตาล้มลุก





                           1.ภาพนูน 2 มิติ                                 2.นิทานในกล่อง
                           3.กล่องมหัศจรรย์                            4.ลูกบอลกลิ้ง
                           5.น้ำหนักที่แตกต่าง                        6.ซูโม่กระดาษ
                           7.ภาพเปลี่ยนสี                                 8.สัตว์โลกน่ารัก
                           9.จับคู่ให้ถูก



Monday, September 9, 2013

Study notes No.13

 ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ   เนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี (วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน  2556)
 เวลา 08.30 . (เรียนชดเชย)                 

ค้นคว้าเพิ่มเติม


บทความ
5 แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ให้เด็กอนุบาล





         สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอนุบาล วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่ แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

 ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้”  

             ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ” 

สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้” 

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้ สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ                                           

Monday, September 2, 2013

Study notes No.12

-อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุม





การนำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์





 ของเล่นเข้ามุม (สัตว์ไต่เชือก)


สิ่งที่ต้องเตรียม
1.กล่องลัง
2.กระดาษร้อยปอนด์
3.สีไม้
4.หลอด
5.กรรไกร
6.พลาสติกเคลือบใส

ขั้นตอนการทำ

1.นำกล่องลังตัดตรงกลางออกและห่อด้วยกระดาษสีดำ



2.นำกระดาษร้อยปอนด์มาวาดรูปสัตว์แล้วตัดตามรูปที่วาด หลังจากนั้นนำพลาสติกใสมาเคลือบ เพื่อความสวยงาม


 3.นำหลอดมาติดไว้หลังสัตว์ แล้วเอาเหรียญสลึง เพื่อถ่วงน้ำหนักตัวสัตว์


 4.นำกล่องมาเจาะรู้ด้านข้างเพื่อใส่ตัวสัตว์เข้าไป


 5.นำกระดาษสีและของตกแต่งมาตกแต่งกล่องให้สวยงาม


 6.นำสัตว์มาร้อยเชือกและร้อยเข้าไปในกล่อง


 7.หลังจากนั้นลองทดสอบดูว่าสามารถเคลื่อนที่ได้หรือไม่


 8.นำชื่อของเล่นและหลักการมาติดไว้ข้างหลังกล่อง


 9.ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์



 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา

       แนะนำกิจกรรม โดยถามคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด เช่น เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะครูคะ เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรคะ

ขั้นที่ 2 สมมติฐาน

       เด็กๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา เช่น เมื่อครูดึงเชือกจะเกิดอะไรขึ้นคะ
ขั้นสอน

ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล

      - ให้เด็กๆทดลองโดยลองมาดึงเชือก
      - เด็กๆลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
      - เด็กๆสังเกตและเก็บข้อมูลที่ได้เห็น
     - ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล

       ครุถามคำถามเพื่อกระตุ่นให้เด็กได้คิดหาเหตุผลจากของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1.เมื่อดึงเชือกลับไปกลับมา เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น สัตว์จะเคลื่อนที่ได้หรือไม่
2.เวลาดึงเชือก เมื่อเด็กๆกางเชือกออก เด็กๆคิดว่าสัตว์จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือไปข้างหลัง
ขั้นสรุป

ขั้นที่ 5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป


       หลักการ: ไต่ขึ้นไต่ลง  เมื่อเราดึงเชือกทั้ง 2ข้าง จะทำให้เกิดการเสียดสีในหลอดดูดและเกิดแรงเสียดทาน ระหว่างวัตถุ ซึ่งทำให้วัตถุ 2 ชนิดหยุดการเคลื่อนที่ผ่านกันและกัน เมื่อเราปล่อยเชือก เชือกก็จะไม่กดทับหลอดดูด ทำให้แรงเสียดทานน้อยลง

ภาพการทำงานและการนำเสนอของเล่นเข้ามุม


-อาจารย์เก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

งานที่ได้รับมอบหมาย
            - อาจารย์ให้ทำงานทุกชิ้นให้เรียบร้อย พร้อมส่งก่อนวันที่ 15 กันยายน 56