คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ Welcome To Blogger (E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood)

Monday, July 29, 2013

Study notes No.7

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจากอาจารย์ให้เวลานักศึกษาในการอ่านหนังสือเตรียมสอบสำหรับการสอบกลางภาคในอาทิตย์หน้า

ค้นคว้าเพิ่มเติม

5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ


1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ (บางคน) อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชต
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)




Sunday, July 28, 2013

เรียนชดเชย ครั้งที่1

วันนี้ได้เข้าอบรมการทำสื่อให้แก่เด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ให้จับกลุ่มแบ่ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน
สื่อที่ทำ มีดังนี้
1.สื่อตัวการ์ตูนหรือสัตว์อ้างปากที่ใช้เชือกร้อยแล้วดึง ทำให้ปากอ้า

 (กลุ่มข้าพเจ้าทำแมวคาบกางปลา)




2.สื่อที่ดึงแล้วโยกไปมา
ที่ใช้กระดาษชานอ้อยทำเป็นฐานสำหรับดึง และนำกระดาษแข็งมาติดกับกระดาษชานอ้อยบริเวณตรงกลางเพื่อเป็นแกนสำหรับให้ภาพโยกไปมา เสร็จแล้วนำภาพที่ต้องการติดลงไปตรงแกนนั้น จะทำมากกว่า 1 แกนก็ได้

                                    (กลุ่มข้าพเจ้าทำปลาโลมากำลังว่ายน้ำ)



สื่่อของทุกกลุ่มที่ทำในวันนี้



ประโยชน์ที่ได้จากการอบรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

- ได้แนวคิดใหม่ๆในการนำมาใช้ทำสื่อที่หลากหลาย
- ได้ลองฝึกและทำสื่อด้วยตนเอง
- ได้เห็นสื่อที่หลายหลายในแต่ละแนวคิดของเพื่อนกลุ่มอื่น
- สามารถนำวิธีการทำสื่อเหล่านี้ไปดัดแปลงใช้กับสื่ออื่นๆ

- สามารถนำสื่อที่ทำนี้ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย

Monday, July 22, 2013

Study notes No.6



ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องใน
วันอาสาฬหบูชา

 **หมายเหตุ
              อาจารย์นัดเรียนเสริม วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2556

ค้นคว้าเพิ่มเพิม


วันนี้ตรงกับ "วันอาสาฬหบูชา"


ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2556 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคม (แรม 1 คํ่า เดือน 8)
          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
              1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
           ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
           2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ 
    1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด 
    2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ 
    3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา 
    4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

       พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...


************************************

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ง่ายๆ


                                             ไหมพรมเต้นระบำ(Dancing Wool)







                                 


                                


                                 

Monday, July 15, 2013

Study notes No.5

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทุกคน และพร้อมให้คำแนะนำ ในการประดิษฐ์อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ชิ้น คือ
         1.งานประดิษฐ์ของเล่น
         2.งานประดิษฐ์ที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
         3.งานประดิษฐ์สำหรับทดลอง

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 1 งานประดิษฐ์ของเล่น (โยโย่)

อุปกรณ์

            1.แกนม้วนด้าย
            2.เชือก
วิธีทำ

            ใช้เชือกผูกกับแกนด้าย แล้วม้วนเชือกให้ยาวพอประมาณที่จะทำให้แกนด้ายม้วนโดยไม่หลุดออกจากเชือก และเมื่อปล่อยลงเชือกไม่ยาวจนเกินไป สุดท้ายผูกเชือกตรงปลายที่เลือกให้เป็นห่วง เพื่อสำหรับสอดนิ้วเข้าไป

วิธีเล่น

            จับปลายเชือกด้านที่เป็นห่วง แล้วพันเชือกรอบแกนหมุนของโยโย่ จากนั้นโยนโยโย่ลง แล้วรีบกระตุกเชือกขึ้นมาทันที

หลักการทางวิทยาศาสตร์ของโยโย่

            เมื่อเริ่มพันเชือกรอบแกนโยโย่ จนหมดเส้นเชือก ถือไว้ด้วยมือ ให้อยู่สูงจากพื้น เพื่อเพิ่มพลังงานศักย์โน้มถ่วง    เมื่อผู้เล่นขว้างโยโย่ ให้กลิ้งลงข้างล่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และพลังงานของการหมุน ขณะที่โยโย่ ถูกเหวี่ยงลงข้างล่าง   ความเร็วของลูกดิ่งจะเพิ่มขึ้น  หมายความว่า พลังงานจลน์เพิ่มขึ้นด้วย  เราอาจพูดว่า มีโมเมนตัมเชิงเส้นเพิ่มขึ้นก็ได้  ในเวลาเดียวกันที่เชือกคลายตัว  ลูกดิ่งจะหมุน  ยิ่งเชือกคลายตัวออกมากเท่าไร  ลูกดิ่งยิ่งหมุนเร็วเท่านั้น

- อาจารย์ได้เปิด VDO
- รายการ iSci ความฉลาดแบบยกกำลังสอง ทางช่อง Thaipes

 เรื่อง ลูกโป่งรับน้ำหนัก



เพราะอะไร ?

เหตุที่ลูกโป่งพองลมสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าที่เราคิด เป็นเพราะน้ำหนักที่วางบนแผ่นกระดานกระจายไปทั่วๆแผ่นกระดานประกอบกับแรงดันอากาศจากลูกโป่งทุกลุกที่วางไว้จึงทำให้ลุกโป่งรับได้โดยไม่แตก

        -รายการ รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์

        เรื่องเมล็ดจะงอกไหม



             
       ประยุกต์ใช้อย่างไร ?

             - นำไปประยุกต์ใช้คือ การนำวัสดุที่เหลือใช้มารีไซเคิลใหม่และสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานที่สามารถใช้ประโยชน์และเรียนรู้ได้

 ** งานที่ได้รับมอบหมาย
                
                 ให้นำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ของเล่นมา 2 ชุด เพื่อสอนเพื่อนอีกคน




Monday, July 8, 2013

Study notes No.4

- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร (ข้าพเจ้าวาดรูปผีเสื้อ) ดังภาพที่ปรากฏนี้


สมุดภาพเคลื่อนไหว


เมื่อเรานำภาพมาทำให้รวดเร็ว เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "ภาพเคลื่อนไหวแบบสต็อปโมชั่น"

- อาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์


   ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
   วิธีการนำเสนอ
            นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
           อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ทุกๆที่ รอบๆ ตัวเรา
สมบัติของอากาศ
1.ความหนาแน่นของอากาศ
2. ความดันของอากาศ
3.อุณหภูมิของอากาศ
4.ความชื้นของอากาศ
อากาศมีทั้งอากาศร้อนและอากาศเย็น ซึ่งอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ลม
ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เป็นผลเนื่อง จากความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง หรือความแตกต่างของความกดอากาศสองแห่ง โดยลม จะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุด หรือความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการ ไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ โคริโอลิส

- อาจารย์ให้ออกไปPresent “ของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน (ซึ่งของดิฉันอาจารย์ให้ไปหามาใหม่ พร้อมบอกด้วยว่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำมามี Concept อย่างไร หลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร)

งานที่ได้รับมอบหมาย 

       อาจารย์ให้ไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆ ภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ


ค้นคว้าเพิ่มเติม (งานที่ได้รับมอบหมาย)
          
สต็อปโมชั่น
สตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
สตอปโมชัน มีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
       1.เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
      2.คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
       3.กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
       4.โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
        5.แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
        6.พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ



Monday, July 1, 2013

Study notes No.3

- วันนี้อาจารย์ได้กลับมาสรุปเนื้อหาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้อาจารย์ได้แยกออกมาเป็นหัวข้อให้เห็นได้ชัดขึ้นในรูปของ Mind Mapping ส่วนของเนื้อหาที่พิมพ์ลงไปนั้นอาจารย์จะถามนักศึกษาและเอาคำตอบจากของนักศึกษาเป็นเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นๆ 
- อาจารย์ได้พูดถึงการดู CD เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ว่าเนื้อหาเป็นอย่างไรพร้อมกับสรุปให้นักศึกษาฟัง หลังจากสรุปเรื่องนี้เสร็จ
- อาจารย์ให้ดู CD เรื่อง คือ เรื่องความลับของแสง



 พร้อมกับให้สรุปเนื้อหาจากการดู CD และส่งท้ายคาบเรียนทุกคน

ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง
             
         แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
       ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้
วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสง
ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
โพลาไรเซชัน ( มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้                     

วิธีการนำเสนอ
            นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
      
- อาจารย์อธิบายสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ให้ดูนี้สอนเกี่ยวกับเรื่องอะไร 

ประยุกต์ใช้อย่างไร

     - นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น

 งานที่ได้รับมอบหมาย

      - ให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุที่เหลือใช้ มา 1 ชิ้น
      - ให้เก็บใบไม้ 1 ใบ และทำให้แห้ง