คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ Welcome To Blogger (E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood)

Monday, October 7, 2013

Scientific research related to early childhood

สรุปวิจัย เรื่อง Developing of basic science process skills of young children using creative art model for learning
การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (ณัฐชุดา สาครเจริญ)

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
            - เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
            -เพื่อจัดให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
ความสำคัญของการวิจัย
            การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครู ในการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยการนำกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย โดยเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา ตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านต่างๆ ได้



ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
- เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 6 ดังนี้
            1. การสังเกต
            2. การจำแนก
            3. การวัด
            4. การมิติสัมพันธ์
            5. การสื่อสาร
            6. การลงความเห็น

เนื้อหา
            ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกถ่ายทอดออกมาโดยผ่านสื่อผลงานซึ่งเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เด็กเห็น และรับรู้โดยการใช้จินตนาการ การสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ จนเกิดความเข้าใจในธรรมชาติ เด็กยังมีโอกาสพัฒนาความคิด ได้รับความรู้เพิ่มพูนได้แสดงออกอย่างอิสระ มีสุนทรียภาพและเห็นคุณค่าความงามของศิลปะ
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
            -ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้คิดสื่อที่ใช้ประกอบคำถาม เช่น นิทาน ภาพ เกม เพื่อจูงใจสร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยให้เด็กตอบคำถามอย่างอิสระ คำถามที่ครูใช้ถามประกอบสื่อจะเป็นคำถามปลายเปิดที่ใช้คำถามว่า อย่างไร ทำไมเพราะเหตุใด
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยเครื่องนอน คำถามที่ใช้คือ เครื่องนอนเด็กๆ เห็นมีอะไรบ้าง นอกจากนี้เครื่องนอนที่เห็นที่บ้านของนักเรียนมีเครื่องนอนอะไรบ้าง
            -ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นกิจกรรมที่ครูกระตุ้นให้เด็กสะท้อนคิดด้วยการโยงข้อความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ครูต้องใช้คำถามกระตุ้นโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะที่ทำกับการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดมโนทัศน์ คือ วิธีสอนที่ใช้เกม
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยหมู่อาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมู พิชซ่า ข้าวไข่เจียว มาให้เด็กจำแนกตักใส่ภาชนะไปวางบนแผ่นชาร์ต จำแนกหมู่อาหาร
            -นำสู่งานศิลปะ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้นำมโนทัศน์หรือความรู้ที่ได้ถ่ายโยงความรู้สู่งานศิลปะตามรูปแบบงานศิลปะที่ครูเลือกว่าเหมาะสมกับสิ่งที่คุณเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรงและได้แสดงออกถึงความคิดจินตนาการที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
           ตัวอย่างเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยไข่เด็กศิลปะเปลี่ยนแบบ โดยการนำเปลือกไข่ที่เรียน หรือสิ่งที่เรียนมาทำงานประดิษฐ์เปลี่ยนแบบ
           
            -สาระที่เรียนรู้ เด็กจะสรุปมโนทัศน์ที่ได้จากการดำเนินการทั้ง 3 ขั้น ที่ผ่านมา โดยครูกับเด็กสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เด็กได้เล่าอธิบายจากชิ้นงานศิลปะ เช่น ภาพวาด งานประดิษฐ์ งานปั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจมโนทัศน์ในสิ่งที่เรียน
            ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยหมู่อาหาร ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามจากงานศิลปะ เช่น ศิลปะที่เด็กวาดอยู่ใช้อาหารหมู่ใดบ้าง ศิลปะใครมีอาหารครบ 5 หมู่

สมมุติฐานการวิจัย
            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปแบบการใช้ศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

ผลการวิจัย
            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




Wednesday, October 2, 2013

สรุปองค์ความรู้จาก Thai Teachers Tv


เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติ ที่เรียกว่า "มาทาลโปรแกรม" การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 การลงมือปฏิบัติ เข้าใจสิ่งรอบตัวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การจำแนกวัสดุต่างๆ

จัดกิจกรรม หน่วยการเรียนรู้: ชุมชนของเรา

ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวภายในชุมชนมีอะไรบ้าง จากนั้นให้เด็กนำบ้านที่สร้างมา นำมาจัดเป็นชุมชนร่วมกัน โดยมีอุปกรณ์ที่หลากหลายไว้ให้ เช่น ไม้บล็อค ไม้ตะเกียบ มีรูปทรง และสอดแทรกเรื่องธรรมชาติโดยให้ใช้กล่องนม ทำเป็นต้นไม้ โดยครูยกตัวอย่างให้เด็กฟัง

ในการทำกิจกรรมเด็กได้จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆได้ เช่นโลหะ กระดาษ ไม้ พลาสติก
ให้เด็กสร้างเส้นทางจากบ้านตัวเองไปหาเพื่อน เป็นการให้เด็กมีสังคม การมีสัมพันธ์ที่ดี และการทำงานร่วมกันระหว่างเพื่อน และรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้ประโยชน์ของธรรมชาติ และให้เด็กนำเสนอโดยครูใช้คำถามว่าบ้านของเด็กๆมีอะไรบ้าง

 กิจกรรมแยกแยะสิ่งของจับคู่ความสัมพันธ์ โดยครูหยิบสิ่งของขึ้นมาและให้เด็กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งของนั้นๆ และให้หาสิ่งของที่คู่กัน เป็นการฝึกการสังเกตสิ่งของที่อยู่รอบตัว ที่อยู่ในห้องเรียน

Monday, September 30, 2013

Study notes No.16

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งของเล่นเข้ามุมและของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ โดยอาจารย์ให้จัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อจัดเป็นนิทรรศการสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-อาจารย์ได้สรุปถึงองค์ความรู้ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ภาพบรรยากาศการเก็บรวบรวมสื่อและสรุปองค์ความรู้ทั้งหมด









Monday, September 23, 2013

Study notes No.15

-สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณได้ให้กลุ่มนักศึกษาที่ถูกเลือกในสัปดาห์ที่แล้ว ออกมาสาธิตการสอนทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ โดยให้กลุ่มที่สอนสมมติเป็นครูและเพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก

ขั้นตอนกระบวนการสอนและการสาธิต

1."เด็กๆเห็นอะไรบ้างเอ๋ยที่คุณครูเตรียมมาวันนี้" พร้อมยกของประกอบขึ้นด้วยเวลาที่เด็กตอบ
2.กล่าวชมเชยเด็ก จากนั้นถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคิดว่าของเหล่านี้สามารถนำเอามาทำเป็นอะไรได้บ้างค่ะ"
3. เมื่อเด็กตอบ ก็บอกว่า "วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆมาทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับกัน ไหนใครเคยลองช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับบ้างเอ๋ย" เมื่อเด็กตอบก็กล่าวชมเชยเด็กอีกครั้ง
4."งั้นเรามาเริ่มทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำซุปใส่หม้อก่อนนะคะ ไหนมีใครอยากออกมาช่วยคุณครูบ้างยกมือขึ้น แล้วออกมาได้เลย" ขณะที่เด็กเข้ามาหาพยายามบอกให้เด็กอยู่ห่างหม้อมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
5.ในระหว่างที่รอน้ำเดือดคุณครูก็เตรียมเต้าหู้ ต้นหอมผักชี มาหั่นรอ ช่วงที่ทำถามเด็กๆไปด้วยว่าคืออะไร แล้วบอกเด็กว่าเวลาที่จะหั่นของควรให้คุณพ่อคุณแม่หั่นเพราะอาจโดนมีดบาดได้
6.เมื่อน้ำเดือดให้ใส่หมูสับลงไป โดยอาจให้เด็กช่วยปั้นหมูสับแล้วคุณครูเป็นคนใส่ลงไปในหม้อให้ ระหว่างที่เอาหมูสับใส่ลงในหม้อ บอกเด็กสังเกตดูว่า "ตอนนี้เด็กๆเห็นหมูสับเป็นสีอะไรคะ" เมื่อเด็กตอบให้กล่าวชมเชยอีกครั้ง
 7.ในระหว่างที่รอให้หมูสับสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลงประกอบการทำอาหารไปด้วยเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อหมูสับสุกก็ถามถึงการเปลี่ยนแปลงของหมูสับว่า "เด็กๆคิดว่าหมูสับเปลี่ยนไปมั้ยคะ"
8.จากนั้นให้ใส่ผักที่เตรียมไว้ ถามเด็กว่า "เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ" เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผักเหมือนถามตอนที่ใส่หมูสับลงไป
9.ต่อจากนั้นปรุงรสชาติ ถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคนไหนอยากปรุงรสชาติแกงจืดช่วยคุณครูบ้างคะ"
10.เสร็จแล้วให้ตักใส่ถ้วยให้เด็กได้ทดลองชิมแกงจืดที่ทำ พร้อมให้เด็กบอกว่ารสชาติเป็นอย่างไรและสรุปด้วยว่าแกงจืดนั้นให้ประโยชน์อะไรแก่เด็กบ้าง



ภาพของแกงจืดเต้าหู้หมูสับ




อุปกรณ์และส่วนผสมสำหรับการทำแกงจืด






ภาพกิจกรรมการสอนของเพื่อน







Monday, September 16, 2013

Study notes No.14

-วันนี้อาจารย์ตฤณ สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking) และอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อช่วยกันเขียนแผน


แผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking)





ภาพการทำงานในกลุ่ม




ภาพการนำเสนอแผนของแต่ละกลุ่ม




Sunday, September 15, 2013

เรียนชดเชย ครั้งที่3

-อาจารย์บอกรายละเอียดและองค์ประกอบที่ต้องทำลงไปในบล็อกและอาจารย์ให้เขียนชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิน ลงในบล็อกด้วย

-อาจารย์อธิบายเครื่องมือในวิทยาศาสตร์ มีดังนี้





-อาจารย์พูดถึงการจัดนิทรรศการสื่อทางวิทยาศาสตร์

-เพื่อนนำเสนองานของเล่นเข้ามุม (ต่อ)





เก็บตกงานที่ยังไม่นำเสนอ




                                                       1. กาลักน้ำ 
                                                       2. ดอกไม้บา
                                                       3. ตะเกียบยกขวด




                                                          
                              1.ปลาร้องเพลง                         2.กระป๋องร้องเพลง
                              3.ขวดลูกเด้ง                             4.กบไต่เชือก
                              5.กระป๋องบูมเมอแรง              6.ภาพเปลี่ยนแปลง
                              7.ตุ๊กตาล้มลุก





                           1.ภาพนูน 2 มิติ                                 2.นิทานในกล่อง
                           3.กล่องมหัศจรรย์                            4.ลูกบอลกลิ้ง
                           5.น้ำหนักที่แตกต่าง                        6.ซูโม่กระดาษ
                           7.ภาพเปลี่ยนสี                                 8.สัตว์โลกน่ารัก
                           9.จับคู่ให้ถูก



Monday, September 9, 2013

Study notes No.13

 ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ   เนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี (วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน  2556)
 เวลา 08.30 . (เรียนชดเชย)                 

ค้นคว้าเพิ่มเติม


บทความ
5 แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ให้เด็กอนุบาล





         สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอนุบาล วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่ แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

 ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้”  

             ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ” 

สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้” 

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้ สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ